วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี 19 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน13.10น. เวลาเข้าสอน13:03น. เวลาเลิกเรียน 16:40น.
สิ่งที่ได้รับจากการเรียน




                                                             อาจารย์ให้อ่านให้ฟัง


การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเแนวด็กปฐมวัย
1.การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา
(Skill Approch)                                 
- ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยๆของภาพ
- การประสมคำ
- ความหมายคำ
- นำคำมาประกอบเป็นประโยค
- การแจกรูปสะกดคำ การเขียน

                                     การแจกรูป
                                       เช่น
                                                กู                  งู                      ดู                        หู                                                                                           รู                  ปู                      ถู                       ฟู
                                                ดู                  ทุ                      มู                       ชู
                                                รูปู                 กูหู                   ดูงู                      ถูขา
                                                ดููกา              มาดู                  ปูนา                    ปลาทู





- ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็ก
- ไม่สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
   (kenncth Goodman) 
- เสนอแนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
- มีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด
- แนวทางการสอนมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็ก
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
- สนใจ อยากรู้ อยากเห็นสิ่งรอบๆตัว
- ช่างสงสัย ช่างซักถาม
- มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
- ชอบเรียนรู้สิ่งต่างๆ
- เลียนแบบคนรอบข้าง
2.การสอนภาษาแบบธรรมชาติ
(Whole Language)





ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
( Dewey / Piaget / Vygotsky / Haliday )
- เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์และลงมือกระทำ
- เด็กเรียนรู้จากกิจกรรมการเคลื่อนไหวของตนเองและการสัมผัสจับต้องกับสิ่งต่างๆแล้วสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเองอิทธิพลของสังคมและบุคคลอื่นๆมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
 การสอนภาษาธรรมชาติ
- สอนแบบบรูณาการองค์รวม
- สอนในสิ่งที่เด็กสนใจและมีความหมายสำหรับเด็ก
- สอนในสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและอยู่ในชีวิตประจำวัน
- สอดแทรกการฝึกทักษะการฟังพูด อ่าน เขียน ไปพร้อมการทำกิจกรรม
- ไม่เข้มงวดกับการท่องสะกด
- ไม่บังคับให้เด็กเขียน
หลักการของภาษาการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
นฤมน เนียมหอม ( 2540 )
  1. การจัดสภาพแวดล้อม
- ตัวหนังสือปรากฎในห้องเรียนจะต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ
- หนังสือที่ใช่จำต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว
- เด็กมีด้านในการจัดสภาพแวดล้อม
  2. การสื่อสารที่มีความหมาย
- เด็กสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริง
- เด็กอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
- เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาส
  3. การเป็นแบบอย่าง
- ครูอ่่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้ให้กับเด็กเห็น
- ครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก เช่น เด็กจะสนใจในการอ่านหนังสือ
  4. การตั้งความคาดหวัง

- ครูเชื่อมั่นว่าเด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียน
- เด็กสามารถอ่านเขียนได้ดีและถูกต้องยิ่งขึ้น
  5. การคาดคะเน
- เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา
- เด็กได้คาดเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน
- ไม่คาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่

  6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
- ตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็ก
- ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็ก
- ตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์
  7. การยอมรับนับถือ
- เด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล                                                 
- เด็กได้เลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง
- ใช้ช่วงเวลาเดียวกันเด็กไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมอย่างเดียว
- ไม่ทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน
  8.การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น                                                                                                      
- ให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่ใช้ภาษา
- ครูจะต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือ
- ไม่ตราหน้าเด็กว่าไม่มีความสามารถ
- เด็กมีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถ




บทบาทครู ( นริมล ช่างวัฒนาชัย , 2541 )
- ครูคาดหวังเด็กแต่ละตนแตกต่างกัน
- ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุน การอ่าน การเขียน
- ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกครบถ้วนของเด็ก                                                             
- ครูสร้างความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น