วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 7

 บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี 26 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 12:40 น. เวลาเข้าสอน 13:10 น.เวลาเลิกเรียน 16:40น.


 สิ่งที่ได้รับในการเรียน

อาจารย์ให้วาดรูปอะไรก็ได้แล้วออกมาเล่าเป็นนิทานต่อๆกันกับเพื่อน

รูปภาพของเพื่อน

รูปภาพของเพื่อน


รูปภาพของเพื่อน (มิกกี้เมาส์)
รูปภาพของดิฉันเอง(สตอเบอรี่)

การเล่านิทานคือ การส่งเสริมทักษะที่ดีให้เด็กได้ลองจินตนาการในการใช้ในการเล่านิทาน

การประเมิน
1. ใช้เครื่องมือในการใช้ประเมินที่หลากหลาย เช่น การสนทนา การประเมินให้หลากหลาย
2.  เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก
- บันทึกสิ่งที่เด็กทำได้
- ทำให้สามารถส่งเสริมเด็กให้ก้าวไปสู่พัฒนาการภาษาในระดับที่สูงขึ้นได้
3.  ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย เช่นบริบทหลากหลายอย่างต้องมีการดูและการควบคุม
4.  ให้เด็กมีโอกาสประเมินตนเองเป็นผลงานของเด็กให้เด็กเห็นของตัวเองของเพื่อนและเด็กเห็นผลงานพัฒนาการของตนเอง

(รูปไอศรีมที่ละลายแล้ว)
5. ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล
1.)

-สิ่งที่สื่อสารออกมาเหมือนกันแต่กระบวนการต่างกันดูกระบวนการคิดของเด็กด้วยว่ามีกระบวนการอะไร

2.)

(จุด6 จุด)


(ใช้4เส้น)
ตัวอย่างกิจกรรม

การจัดองค์ประกอบในห้องเรียน
-โรงเรียนเกษมพิทยา
อนุบาล 1




อนุบาล 2/1 








(มุมอ่านหนังสือเด็ก เมื่อเด็กอ่านเสร็จจะเอามาเก็บ)
อนุบาล 3






(อันนี้อาจารย์ถ่ายมาเฉยๆสวยดี)














อาจารย์เล่านิทานให้ฟัง
นิทานเรื่องที่ 1
-เล่าไปวาดไป 
(สุนัขจิ้งจอก)
ใช้ประโยคซ้ำๆเพื่อให้เด็กได้จำ
นิทานเรื่องที่ 2


(แมลงเต่าทอง)
ให้เด็กวาดตามพร้อมกับคุณครู
ความรู้ที่ได้รับ
1. ได้รู้จักว่าการเล่านิทานช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่หลากหลาย
2.  ได้ทราบว่าโรงเรียนเกษมพิทยามีรูปแบบการสอนเด็กที่หลากหลาย และมีแนวการสอนที่แตกต่างให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี 19 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน13.10น. เวลาเข้าสอน13:03น. เวลาเลิกเรียน 16:40น.
สิ่งที่ได้รับจากการเรียน




                                                             อาจารย์ให้อ่านให้ฟัง


การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเแนวด็กปฐมวัย
1.การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา
(Skill Approch)                                 
- ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยๆของภาพ
- การประสมคำ
- ความหมายคำ
- นำคำมาประกอบเป็นประโยค
- การแจกรูปสะกดคำ การเขียน

                                     การแจกรูป
                                       เช่น
                                                กู                  งู                      ดู                        หู                                                                                           รู                  ปู                      ถู                       ฟู
                                                ดู                  ทุ                      มู                       ชู
                                                รูปู                 กูหู                   ดูงู                      ถูขา
                                                ดููกา              มาดู                  ปูนา                    ปลาทู





- ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็ก
- ไม่สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
   (kenncth Goodman) 
- เสนอแนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
- มีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด
- แนวทางการสอนมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็ก
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
- สนใจ อยากรู้ อยากเห็นสิ่งรอบๆตัว
- ช่างสงสัย ช่างซักถาม
- มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
- ชอบเรียนรู้สิ่งต่างๆ
- เลียนแบบคนรอบข้าง
2.การสอนภาษาแบบธรรมชาติ
(Whole Language)





ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
( Dewey / Piaget / Vygotsky / Haliday )
- เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์และลงมือกระทำ
- เด็กเรียนรู้จากกิจกรรมการเคลื่อนไหวของตนเองและการสัมผัสจับต้องกับสิ่งต่างๆแล้วสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเองอิทธิพลของสังคมและบุคคลอื่นๆมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
 การสอนภาษาธรรมชาติ
- สอนแบบบรูณาการองค์รวม
- สอนในสิ่งที่เด็กสนใจและมีความหมายสำหรับเด็ก
- สอนในสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและอยู่ในชีวิตประจำวัน
- สอดแทรกการฝึกทักษะการฟังพูด อ่าน เขียน ไปพร้อมการทำกิจกรรม
- ไม่เข้มงวดกับการท่องสะกด
- ไม่บังคับให้เด็กเขียน
หลักการของภาษาการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
นฤมน เนียมหอม ( 2540 )
  1. การจัดสภาพแวดล้อม
- ตัวหนังสือปรากฎในห้องเรียนจะต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ
- หนังสือที่ใช่จำต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว
- เด็กมีด้านในการจัดสภาพแวดล้อม
  2. การสื่อสารที่มีความหมาย
- เด็กสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริง
- เด็กอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
- เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาส
  3. การเป็นแบบอย่าง
- ครูอ่่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้ให้กับเด็กเห็น
- ครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก เช่น เด็กจะสนใจในการอ่านหนังสือ
  4. การตั้งความคาดหวัง

- ครูเชื่อมั่นว่าเด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียน
- เด็กสามารถอ่านเขียนได้ดีและถูกต้องยิ่งขึ้น
  5. การคาดคะเน
- เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา
- เด็กได้คาดเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน
- ไม่คาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่

  6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
- ตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็ก
- ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็ก
- ตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์
  7. การยอมรับนับถือ
- เด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล                                                 
- เด็กได้เลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง
- ใช้ช่วงเวลาเดียวกันเด็กไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมอย่างเดียว
- ไม่ทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน
  8.การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น                                                                                                      
- ให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่ใช้ภาษา
- ครูจะต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือ
- ไม่ตราหน้าเด็กว่าไม่มีความสามารถ
- เด็กมีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถ




บทบาทครู ( นริมล ช่างวัฒนาชัย , 2541 )
- ครูคาดหวังเด็กแต่ละตนแตกต่างกัน
- ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุน การอ่าน การเขียน
- ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกครบถ้วนของเด็ก                                                             
- ครูสร้างความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์

เรีียนครั้งที่ 5

                                                                     บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี  12 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 12:50 น. เวลาเข้าสอน 13:00 น. เวลาเลิกเรียน 16:40 น.

อาจารย์ให้วาดรูป ความทรงจำครั้งวัยเด็กว่า ของสิ่งไหนที่เราจำได้แล้วชอบเป็นพิเศษแล้วออกไปหน้าชั้นเรียนแล้วอธิบายบอกเพื่อนว่าทำไมถึงชอบใครให้มาเป็นตน ส่วนของดิฉันคือ เสื้อกันหนาว เพราะเสื้อกันหนาวตัวนี้เป็นเสื้อโปรด ดิฉันชอบใส่มันประจำเฉพาะตอนมาเรียนทำให้ดิฉันมั่นใจและมีความสุขทุกวันถ้าได้ใส่เสื้อตัวนี้




องค์ประกอบของภาษา

เสียง , วรรณยุกต์ ,ความหมาย

1.Phonology
- คือระบบเสียงของภาษา
- เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมา เพื่อสื่อความหมาย
- หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา
  เช่น จ / า / น

2.Semantic
- คือความหมายของภาษาและคำศัพท์
- คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย
- ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
 เช่น คนกลาง
-คนที่อยู่ตรงกลาง
-กลางเสา
 เช่นสวัสดีค่ะ/ครับ
-ทักทาย

3.Syntax
- คือระบบไวยากรณ์
- การเรียงรูปประโยค

4.Pragmatic
- คือระบบนำไปใช้
- ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ

  ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Skinner
- สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
- ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง
  ทฤษฎีการเรียนรู้ของ JohnB. Watson
  ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสลิก
- การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็กเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้และผู้ใหญ่สามารถที่จะวางเงื่อนไขให้เด็ก   เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ทุกพฤติกรรม
นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า
- ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
- การเรียนรู้ภาษาเป็นผลมาจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม
- เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
- เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว
 เมื่อได้รับแรงเสริมจะทำให้เด็กเลียนแบบตัวแบบมากขึ้น
  แนวคิดกลุ่มพัฒนาการด้านสติปัญญา
    1.    Piaget
- เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
- ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
    2.   Vygotsky
- เด็กเรียนรู้จากการมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
- สังคม บุคคลรอบข้างมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
- เน้นบทบาทของผู้ใหญ่
- ผู้ใหญ่ควรช่วยชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก
แนวคิดของกลุ่มความพร้อมทางด้านร่างกาย
     3.  Arnoldgesell
- เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
- ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
- เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาอย่างรวดเร็ว
แนวคิดที่ว่าติดตัวมาตั้งแต่เกิด
        Noam chomsky
- ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
- การเรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
- มนุษย์เกิดขึ้นโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษามาตั้งแต่เกิดเรียกว่า LAD
แนวคิดของO.HobartMowrer
- คิดค้นทฤษฎีความพึงพอใจ
- ความสามารถในการฟังและเพลิดเพลินจากการได้ยินจากเสียงผู้อื่น
แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา
- เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
- นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน
Pichard and Rodger ( 1995 ) ได้แบ่งมุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์เป็น 3กลุ่ม
1.มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
- นำองค์ประกอบย่อยของภาษามาใช้ในการสื่อความหมาย
- เสียง ไวยากรณ์ การประกอบคำเป็นเสียงหรือประโยค
2.มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
- เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
- การจัดประสบการณ์เน้นสื่อความหมาย
- ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
3.มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
- เชื่อว่าเด็กจะเก่งภาษาได้จะต้องมีความสัมพันธ์ทางสังคม
- การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
- เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา



เรียนครั้งที่ 4

  บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี 5 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 12:40 น. เวลาเข้าสอน 13:10 น.เวลาเลิกเรียน 16:40น.
อาจารย์ให้นำเสนอ งานและวีดีโอเด็ก

กลุ่มที่ 1 ภาษา
          
ความหมายของภาษา คือ ความคิด ความรู้ ความรู้สึก และกริยาอาการที่แสดงออกมาแล้วสามารถทำความเข้าใจกันได้ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ ส่วนภาษาในความหมายอย่างแคบนั้น หมายถึง เสียงพูดที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันเท่านั้น

            ความสำคัญของภาษา

         1.ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์ มนุษย์ติดต่อกันได้ เข้าใจกันได้ก็ด้วยอาศัยภาษาเป็นเครื่องช่วยที่ดีที่สุด
          2.ภาษาเป็นสิ่งช่วยยึดให้มนุษย์มีความผูกพันต่อกัน เนื่องจากแต่ละภาษาต่างก็มีระเบียบแบบแผนของตน ซึ่งเป็นที่ตกลงกันในแต่ละชาติแต่ละกลุ่มชน การพูดภาษาเดียวกันจึงเป็นสิ่งที่ทำให้คนรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน มีความผูกพันต่อกันในฐานะที่เป็นชาติเดียวกัน
         3.ภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ และเป็นเครื่องแสดงให้เห็นวัฒนธรรมส่วนอื่นๆของมนุษย์ด้วย เราจึงสามารถศึกษาวัฒนธรรมตลอดจนเอกลักษณ์ของชนชาติต่างๆได้จากศึกษาภาษาของชนชาตินั้นๆ
        4.มีระบบกฎเกณฑ์ ผู้ใช้ภาษาต้องรักษากฎเกณฑ์ในภาษาไว้ด้วยอย่างไรก็ตาม กฎเกณฑ์ในภาษานั้นไม่ตายตัวเหมือนกฎวิทยาศาสตร์ แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของภาษา เพราะเป็นสิ่งที่มนุษย์ตั้งขึ้น จึงเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัยตามความเห็นชอบของส่วนรวม
        5.ภาษาเป็นศิลปะ มีความงดงามในกระบวนการใช้ภาษา กระบวนการใช้ภาษานั้น  มีระดับและลีลา ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆหลายด้าน เช่น บุคคล กาละเทศะ ประเภทของเรื่องฯลฯ การที่จะเข้าใจภาษา และใช้ภาษาได้ดีจะต้องมีความสนใจศึกษาสังเกตให้เข้าถึงรสของภาษาด้วย





กลุ่มที่ 2 แนวคิดทางภาษา
             เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม

เพียเจต์
เด็กต้องมีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติโดยผ่านการเล่นและกิจกรรมต่างๆ

ภาษาและกระบวนการคิดของเด็ฏแตกต่างจากผ้ใหญ่ กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้
การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล
           ไวกอตสกี้ กล่าวว่า เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาของตนเองจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก เกิดการเรียนรู้ผ่านการเล่นและเข้าร่วมกิจกรรม การช่วยเหลือและลงมือปฏิบัติอย่างเป็นขั้นเป็นตอนจากการใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้เกี่ยวกับการเล่นและกิจกรรมต่าง ๆ
ฮอลลิเดย์ กล่าวว่า สภาพแวดล้อม รอบ ๆ ตัวเด็กเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ และการใช้ภาษาของเด็ก และการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลที่เกี่ยวข้องจะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาจาการเรียนรู้กับทุกสิ่งทุกอย่าง
           กู๊ดแมน กล่าวว่า ภาษาเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชีวิตเด็ก เด็กทุกคนต้องมีการเรียนรู้ภาษาที่เหมาะสม และใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้ จากแนวคิดพื้นฐานต่าง ๆ ของนักทฤษฎี นักการศึกษาต่าง ๆ ดังกล่าวนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวม เป็นการเรียนรู้ของเด็กที่เป็นไปโดยธรรมชาติจากการที่เด็กได้มีประสบการณ์ตรง ลงมือปฏิบัติจริง มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก ได้ใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องกับการร่วมกิจกรรม ทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาภาษา ทำให้อ่านออกเขียนได้ผ่านกระบวนการคิดและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีการพัฒนาภาษาอย่างต่อเนื่องโดยการเชื่อมโยงจากประสบการณ์ต่าง ๆ สู่ภาษาพูด ภาษาเขียนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่จะเป็นเครื่องมือสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ และการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองในที่สุด
            การเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวมจึงเป็นปรัชญาแนวคิดในการจัดการเรียนรู้ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความหมายจาก ประสบการณ์ตรงและได้ลงมือปฏิบัติจริงใน กิจกรรมต่าง ๆ และเป็นการเรียนรู้ผ่านการเล่น เด็กจะได้ซึมซับรับข้อมูลต่าง ๆ ทางภาษาจากการใช้ภาษาทั้งจากการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนจากการเล่น เด็กจะมีความรู้สึกสนุกสนานกับการเรียนรู้ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาภาษาได้อย่างดี ดังนั้นในการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทางภาษาของเด็กโรงเรียนจึงควรจัดให้เหมาะสม สามารถสนองตอบต่อธรรมชาติและพัฒนาการตามวัยของเด็ก โดยจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้เปิดโอกาสให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก ได้พูด ได้อ่าน ได้เขียนที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละวัย 

                                                      

กลุ่มที่ 3 พัฒนาการทางสติปัญญาแรกเกิด-2 ปี
            การเรียนรู้ 0-1 ขวบทารกแรกเกิด : ลูกจะใจจดจ่ออยู่กับใบหน้าของคุณเมื่อคุณยื่นหน้าเข้ามาใกล้ และเขาสามารถจดจำใบหน้าของคุณได้ เมื่อลูกได้ยินเสียงคุณเขาจะสอดส่ายสายตามองหาคุณอยู่ไหน และพยายามมองตามใบหน้าของคุณ ขณะที่คุณกำลังเคลื่อนตัวเข้ามาหา เมื่อลูกอายุมากกว่า 36 ชั่วโมง และเขาจะมองออกว่าเป็นคุณ เมื่อคุณเข้ามาอยู่ในระยะไม่เกิน 30.5 เซนติเมตร จากสายตาเขา
อายุ 4 สัปดาห์ :ถ้าหากคุณยื่นหน้าเข้ามาใกล้ทารกในระยะที่เขามองเห็นคุณได้ ทารกจะเฝ้ามองคุณเมื่อคุณคุยกับเขาและเขาจะพยายามเลียนแบบการพูดของคุณด้วย การเผยอปากขึ้นและลงเมื่อเขาร้องไห้เขาจะหยุดร้องเมื่อคุณอุ้มเข้าสู่อ้อมอก เพราะสำหรับทารกแล้วคุณคือผู้ที่อยู่ด้วยแล้วรู้สึกสบายใจและปลอดภัยที่สุด ในช่วงนี้ทารกจะเลียนแบบสีหน้าและการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงต่างๆ บนใบหน้าของคุณโดยเขาสามารถบังคับเนื้อบนใบหน้าให้ยิ้มและแสดงความรู้สึก ต่างๆ ได้
อายุ 6 สัปดาห์ :ทารกจะยิ้มไล่หลังคุณไป และสายตาของเขาจะมองตามของเล่นที่เคลื่อนที่ได้
อายุ 8 สัปดาห์ :ถ้าคุณถือของที่มีสีสันสดใสเหนือศีรษะทารก เขาจะเงยหน้ามองและใช้เวลาสัก 2-3 วินาทีในการปรับสายตา และจะมองจ้องวัตถุนั้นเมื่อคุณขยับของไปมา
อายุ 3 เดือน :ทารก จะมองเห็นของเล่นที่แขวนอยู่เหนือศีรษะเขาได้ทันที เขาจะยิ้มเมื่อพูดด้วยและจะส่งเสียงอ้อแอ้ตอบอย่างอารมณ์ดี ทารกจะคอยหันมองสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวด้วยความอยากรู้อยากเห็น
อายุ 4 เดือน :ทารกจะแสดงความตื่นเต้นออกมาเมื่อถึงเวลาป้อนนม เขาจะหัวเราะและจะเอามือปัดป่ายไปเมื่อมีคนเล่นด้วย เขาชอบให้คุณจับนั่งจะได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว เมื่อได้ยินเสียงเขาจะหันไปมองทิศที่มาของเสียงนั้นอายุ 5 เดือน :ทารกจะเริ่มเข้าใจสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น และสามารถแสดงความกลัว และความโกรธออกมา
อายุ 6 เดือน :ทารกจะเริ่มสนใจกระจกเงา และสนใจที่เห็นใบหน้าตนเองอยู่ในนั้น เขาจะเริ่มชอบอาหารบางอย่างมากเป็นพิเศษ
อายุ 8 เดือน :ทารกจะเริ่มรู้จักชื่อของตนเอง และเริ่มเข้าใจคำว่า ไม่เขาจะสามารถส่งเสียงเหมือนไอเบาๆ ได้เพื่อให้คุณหันมาสนใจเมื่อเขาต้องการอะไรบางอย่างทารกอาจจะเริ่มอยากรับ ประทานอาหารเองเมื่อถึงช่วงอายุนี้จะเริ่มหัดพูดแล้ว คุณควรฝึกให้ลูกพูดด้วยการมองเขา และขยับปากเป็นคำพูดทีละคำ เพื่อเขาจะเลียนแบบการขยับปากของคุณได้อายุ 9 เดือน :ทารกจะเริ่มแสดงความปรารถนาของเขาให้คุณรับรู้ เช่น รั้งคุณไว้เมื่อคุณพยายามจะล้างหน้าให้เขา ทารกจะเริ่มแสดงความสนใจของเล่นและเกมต่างๆ อย่างจริงจัง บางครั้งเขาอาจหยิบของเล่นขึ้นมาพินิจพิจารณาดูใกล้ๆ หากมีอะไรวางบังอยู่ใต้ผ้า ทารกจะเปิดผ้าออกดูด้วยความสงสัย
อายุ 10 เดือน :ทารกเริ่มตบมือได้ โบกมือบ๊ายบายได้ เริ่มเข้าใจเลขหลักต้นๆ รวมทั้งคำพูดสั้นๆ ง่ายๆ
อายุ 11 เดือน :ทารกจะเริ่มเรียนรู้และสนุกสนานกับเกมที่เล่นง่ายๆ เขาจะชอบทิ้งหรือโยนของเล่นลงพื้นแล้วเก็บขึ้นมาใหม่ ทารกจะเริ่มส่งเสียงดัง เขาชอบหยิบของเล่นมาเขย่าให้เกิดเสียง
อายุ 12 เดือน :เขาจะพยายามทำอะไรก็ได้ให้คุณหัวเราะ แล้วก็ทำอย่างนั้นอยู่ซ้ำๆ ทารกจะเริ่มชอบดูภาพในหนังสือไปพร้อมกับคุณ เขาจะช่วยคุณถอดเสื้อผ้าของตัวเอง โดยการช่วยยกแขนขึ้นเป็นต้น เด็กจะเริ่มรู้จักคำสั้นๆ ง่ายๆ เช่น ขวดนม อาบน้ำ ลูกบอล ดื่มน้ำ ถึงอายุนี้ลูกควรพูดคำแรกได้แล้ว
            การเรียนรู้ 1-2 ขวบ
         ในช่วงขวบปีแรก ทารกจะเรียนรู้ สิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับด้านการควบคุม และการฝึกใช้ร่างกายของตัวเองเป็นส่วนใหญ่ เช่น การเรียนรู้วิธีคลาน วิธียืน และการก้าวเท้าซึ่งในอีกแง่หนึ่งก็คือการเริ่มพึ่งพาตนเองได้เด็กสามารถจะ เดินมาสำรวจโลกของเขาได้เองโดยไม่ต้องรอให้คุณพาเขาไป เมื่อเด็กอายุย่างเข้าปีที่ 2 จะเป็นช่วงที่เขาฝึกฝนทักษะการควบคุมร่างกายให้ดีขึ้น โดยเฉพาะกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ บริเวณมือ ใบหน้า รวมทั้งจะมีการพัฒนาด้านสติปัญญาครั้งสำคัญ
คือเด็ก สามารถถ่ายทอดสิ่งที่เขาคิดออกมาเป็นคำพูดได้สมองที่มีประสิทธิภาพมากกว่า เดิมจะช่วยให้เขาบอกเล่าความคิดและความปรารถนาออกมาเป็นคำพูดได้สมองที่มี ประสิทธิภาพมากกว่าเดิมจะช่วยให้เขาบอกเล่าความคิดและความปรารถนาออกมาให้ คุณได้รับรู้ และเมื่อถึงจุดนี้ทารกจะรู้สึกว่าเขาสามารถเป็นใครอีกคนหนึ่งที่แยกจากคุณ ได้ เขาเริ่มตระหนักถึงตัวตนของเขาเอง และเมื่อทารกถึงช่วงเวลานี้เขาจะหงุดหงิดมากมักร้องไห้งอแงบ่อยครั้ง เพราะอยู่ระหว่างความไม่แน่ใจที่จะเป็นตัวของเองหรือการกลับไปเป็นเด็กที่ ต้องพึ่งพาคุณ สิ่งที่เด็กต้องการอย่างยิ่งคือ ความรักและดูแลเอาใจใส่ รวมทั้งความเข้าใจจากคุณ ให้เริ่มฝึกฝนความเชื่อมั่นที่จะทำอะไรๆ ได้ด้วยตนเอง
          พัฒนาการทางสติปัญญา
12 เดือน : ทารก ชอบดูรูปภาพในหนังสือไปพร้อมกับคุณ และชอบทำตลกให้คุณหัวเราะ เขารู้ว่าต้องยกแขนขึ้นเมื่อคุณจะสวมเสื้อให้ รู้ความหมายของคำสั้นๆ ง่ายๆ ที่ใช้บ่อยๆ เช่น รองเท้า ขวดนม อาบน้ำ รวมทั้งเขาอาจจะพูดอะไรได้สักคำสองคำ
15 เดือน : ทารก จะเริ่มแสดงให้คุณเห็นว่าเขาอยากทำอะไรเองบ้าง เช่น การหวีผม เขารู้ว่าการหอมแก้มคืออะไรและเขาจะหอมคุณเมื่อคุณขอ ทารกจะตื่นเต้นมากเมื่อเขาสามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ได้สำเร็จ และเขาอยากช่วยคุณทำงานบ้าน เช่น การปัดฝุ่น เป็นต้น เขาอาจไม่เข้าใจคำพูดทุกคำของคุณ แต่จะสามารถเข้าใจความรวมๆ ของรูปประโยคที่ซับซ้อนได้
18 เดือน : เมื่อคุณกับลูกดูหนังสือด้วยกัน เขาจะเริ่มชี้ที่รูปภาพ เช่น สุนัข ลูกบอล วัว และอาจพูดออกมาดังๆ ว่า วัวเป็นการแสดงความเข้าใจและความสามารถในการสื่อสารออกมา เด็กจะเริ่มรู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกายและชี้ได้ถูก เมื่อคุณถามว่าอวัยวะต่างๆ ของตัวเขาอยู่ตรงไหน รวมทั้งเขาจะรู้ความแตกต่าง แยกแยะได้ว่าไหนคือจมูกของแม่ และไหนคือจมูกของเขา นอกจากนี้คุณยังสามารถสั่งให้เขาช่วยหยิบของให้คุณได้อีกด้วย
21 เดือน : เมื่อเด็กสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือมีปัญหาอะไร เขาจะเดินมาเรียกคุณให้ไปดู เขาจะชอบจับดินสอขึ้นมาขีดเล่น รวมทั้งเริ่มเข้าใจและปฏิบัติตามคำขอร้อง เข้าใจคำถามที่คุณถามเขา
2 ปี : เด็ก จะชอบการอยู่ลำพังและเล่นอะไรของเขาไปคนเดียว เขาจะเริ่มใช้ดินสอขีดเขียนในลักษณะเลียนแบบตัวหนังสือ เด็กจะเริ่มรู้ชื่อของ สิ่งของต่างๆ ให้ เขาจะพูดคำนั้นซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ



กลุ่มที่ 4 พัฒนาการด้านสติปัญญา 2-4 ปี
          ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม
        


กลุ่มที่ 5 พัฒนาาดารเด็กช่วง 4-6 ปี
         เด็กวัย 4 -6 ปี มีความมั่นใจในตัวเองมาก เต็มไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น สนใจสิ่งรอบตัวที่แปลกใหม่ ฝึกทักษะใหม่ๆ เพราะอยากทำอะไรให้สำเร็จทุกอย่าง ต้องการแสดงความคิดและแสดออกในสิ่งที่คิดซึ่งเต็มไปด้วยจินตนาการ อยู่ในระยะโครงสร้าง (Structure Stage) การรับรู้และการสังเกตของเด็กวัยนี้ดีขึ้นมาก เด็กจะคอยสังเกตการณ์การใช้ภาษาของคนรอบข้าง และทดลองใช้ด้วยตนเอง

           พัฒนาการทางภาษา เด็กอายุ 4 - 6 ปี
บอกชื่อ นามสกุล และที่อยู่ได้
รู้จักเพศของตัวเอง
ชอบถามทำไม เมื่อไร อย่างไร และถามความหมายของคำ และมักเป็นคำถามที่มีเหตุผลมากขึ้น
เด็กวัยนี้สามารถขยายคำศัพท์ เด็กวัยนี้สามารถขยายคำศัพท์จาก 4,000 - 6,000 คำ และสามารถพูดได้ 5-6 ประโยคต่อคำ สามารถเล่าเรื่องซ้ำ 4 -5 ลำดับขั้น หรือ 4 -5 ประโยคในเรื่องหนึ่งได้
เข้าใจคำถามง่ายๆ และตอบคำถามนั้นได้ แม้ในเด็กบางคนอาจจะยังพูดติดอ่าง แต่ก็สามารถแก้ไขได้
ชอบเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่คิดขึ้นมาเอง ให้คนอื่นๆ ฟัง ทั้งพ่อแม่ คนรอบข้าง และเพื่อน
คิดคำขึ้นมาใช้โต้ตอบกับผู้ใหญ่ได้
มักให้ความสนใจในภาษาพูดของผู้ใหญ่ โดยเฉพาะคำแสลง หรือคำอุทาน
ชอบเรื่องสนุก ตลก ชอบภาษาแปลกๆ ชอบฟังนิทานมาก และชอบฟังเพลง มักจะคอยฟังเวลาที่ผู้ใหญ่คุยกัน จดจำคำศัพท์ และบทสนทนาเหล่านั้น โดยเฉพาะคำแสลงหรือคำอุทาน
สามารถบอกชื่อสิ่งของในภาพที่เห็นได้ หรือเล่าเรื่องที่พ่อแม่เคยอ่านให้ฟังได้ และจะเล่นเป็นสุนัข เป็ด หรือสัตว์ต่างๆ ในเรื่องนั้น พร้อมทำเสียงสัตว์เหล่านั้นประกอบได้
สับสนระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องเล่าในหนังสือเด็ก


กลุ่มที่ 6

แนวคิดนักจิตวิทยาการเรียนรู้
1.การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลที่เป็นผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์และทำให้บุคคลเผชิญกับสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม
2. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยวุฒิภาวะ  ลักษณะสำคัญที่แสดงให้เห็นว่ามีการเรียนรู้เกิดขึ้น คือ มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างคงทนถาวร  ที่เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึก การปฏิบัติซ้ำๆ และมีการเพิ่มพูนในด้านความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกและความสามารถทั้งทางปริมาณและคุณภาพ
3.ทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ ช่วยให้ครูจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
            ดอลลาร์ด และมิลเลอร์  (Dallard and Miller) เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ 4  ประการ คือ
           1.แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคลเป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ  แรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป

            2.สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ   ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยา  หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา ในสภาพการเรียนการสอน สิ่งเร้าจะหมายถึงครู  กิจกรรมการสอน  และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ที่ครูนำมาใช้

            3.การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้    เช่น การเคลื่อนไหว ท่าทาง  คำพูด การคิด  การรับรู้  ความสนใจ และความรู้สึก  เป็นต้น

            4.การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก




กลุ่มที่ 7 วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
          การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์  (Piaget)  ได้กล่าวถึง การเรียนรู้ของ
เด็กปฐมวัยว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางปัญญา  (Schemata)  เป็นวิธีที่เด็กจะเริ่มต้นด้วยความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับสิ่งแวดล้อม    และสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการมี  2  อย่างคือ1.   การขยายโครงสร้าง (Assimilation)  คือ  การที่บุคคลได้รับประสบการณ์หรือรับรู้สิ่งใหม่เข้าไปผสมผสานกับความรู้เดิม2.      การปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Accommodation)  คือการที่โครงสร้างทางปัญญาของบุคคลนำเอาความรู้ใหม่ที่ได้ปรับปรุงความคิดให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
           เพียเจท์ (Piaget) เป็นผู้นำทฤษฎีนี้เน้นที่กระบวนการและเนื้อหาของการเล่นที่
ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา เพียเจท์ มองการเล่นเป็นกระบวนการพัฒนาทาง
สติปัญญา ซึ่งกระบวนการพัฒนาทางสติปัญญา และลักษณะของการเล่นนั้น จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน    การเล่นของเด็กจะเริ่มจากการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส ซึ่งจะมีพฤติกรรมในลักษณะที่เป็นการสำรวจจับต้องวัตถุ นับว่าเป็นการฝึกเล่นและพัฒนาการเล่นควบคู่ไปกับการพัฒนาทางสติปัญญาเป็นขั้นการแก้ปัญหาด้วยการกระทำ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2541 : 16)
           เพียเจท์ (Piaget, 1965 : 35 – 37)  ได้แบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาออกเป็น  4  ขั้นคือ            
1.  ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (Sensorimotor Stage)  อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 2 ปี  ในขั้นนี้เด็กจะรูจักใช้ประสาทสัมผัสทางปาก  หู  ตา ต่อสิ่งแวดล้อม  พฤติกรรมที่แสดงออกในรูปของการมีปฏิกิริยาตอบสนองสิ่งเร้า  ในระยะนี้จะสามารถจำได้ว่าวัตถุและเหตุการณ์บางอย่างเป็นอย่างเดียวกัน
2. ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการ (Pre – Operational Stage)  อายุ  2 – 7  ปี  เป็นขั้นที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาพูดและเข้าใจเครื่องหมายต่าง ๆ หรือสภาพแวดล้อมรอบตัว สัญลักษณ์ต่าง ๆ เด็กจะสามารถสร้างโครงสร้างทางสติปัญญาแบบง่าย  ซึ่งเป็นการคิดพื้นฐานที่อาศัยการรับรู้เป็นส่วนใหญ่  สามารถแบ่งเป็น 2 ระยะคือ
        2.1    ระยะก่อนเกิดความคิดรอบยอด เป็นขั้นที่เด็กชอบสำรวจ ตรวจสอบ จะสนใจว่าทำไมเหตุการณ์ต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นและเกิดได้อย่างไร จะเริ่มใช้ภาษาและเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ และมีลักษณะต่าง ๆ คือ จะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง  มองไม่เห็นวัตถุที่เหมือนกันอาจมีบางส่วนต่างกัน  เด็กจะเริ่มคิดอย่างมีเหตุผลเป็นแบบตามใจตัวเอง และจะตัดสินสิ่งต่าง ๆ ตามที่มองเห็น
       2.2   ระยะการคิดแบบใช้ญาณหยั่งรู้ เป็นการคิดเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างที่รวด
เร็วโดยไม่คำนึงถึงรายละเอียด  การคิดและการตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้การตัดสินใจเปลี่ยนแปลงไปมา  และมีลักษณะคือ เข้าใจเรื่องจำนวน  เข้าใจเรื่องความคงที่ (Conservation)  เริ่มคิดได้ว่าของบางสิ่งยังคงเดิมไม่คำนึงถึงรูปร่างและจำนวนที่เปลี่ยนไป  เข้าสังคมได้มากขึ้น เลียนแบบบทบาทต่าง ๆ ส่วนพฤติกรรมยึดตนเองเป็นศูนย์กลางจะลดน้อยลง3.ขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Stage)  อายุ 7 – 11  ปี  เป็นขั้นที่เด็กจะสามารถใช้เหตุผลกับสิ่งที่มองเห็น  และมองความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ  ได้ดีขึ้นเพราะเด็กจะพัฒนาโครงสร้างการคิดที่จะเป็นกับความสันพันธ์ที่สลับซับซ้อน เด็กในวัยนี้จะสามารถตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผลมากขึ้นกับสิ่งที่เป็นนามธรรม เด็กจะเห็นสภาพแวดล้อมว่าประกอบด้วยวัตถุและเหตุการณ์ต่าง ๆ แม้ว่าวัตถุที่มองเห็นจะเปลี่ยนไป            
4.  ขั้นปฏิบัติการคิดแบบนามธรรม (Formal Operational Stage)  อายุ 11 ปีขึ้นไป  เป็นขั้นที่พัฒนาการทางความคิดของเด็กถึงขั้นสูงสุด  จะเข้าใจการใช้เหตุผลและการทดลองได้อย่างมีระบบ สามารถตั้งสมมติฐานและทฤษฎีอีกทั้งเห็นว่า ความจริงที่รู้ไม่สำคัญเท่าสิ่งที่อาจเป็นไปได้  



กลุ่มที่ 8  องค์ประกอบของภาษาทางด้านภาษา

          ภาษาทุกภาษาย่อมมีองค์ประกอบของภาษา โดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ

เสียง :  นักภาษาศาสตร์จะให้ความสำคัญของเสียงพูดมกกว่าตัวเขียนที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะภาษาย่อมเกิดจากเสียงที่ใช้พูดกัน ส่วนภาษาเขียนเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงพูด คำที่ใช้พูดจากันจะประกอบด้วยเสียงสระ เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์ แต่บางภาษาก็ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ เช่น บาลี สันสกฤต เขมร อังกฤษ
พยางค์และคำ :พยางค์เป็นกลุ่มเสียงที่เปล่งออกมาแต่ละครั้ง จะประกอบด้วย เสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้
พยางค์แต่ละพยางค์จะมีเสียงพยัญชนะต้น ซึ่งเป็นเสียงที่อยู่หน้าเสียงสระ พยางค์ทุกพยางค์จะต้องมีเสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ บางพยางค์ก็อาจมีเสียงพยัญชนะสะกดประกอบอยู่ด้วย เช่น “ ปาพยัญชนะต้น ได้แก่ เสียงพยัญชนะ /ป/
เสียงสระ ได้แก่ เสียงสระ /อา/
เสียงวรรณยุกต์ ได้แก่ เสียง /สามัญ/
ส่วนคำนั้นจะเป็นการนำเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์มาประกอบกัน ทำให้เกิดเสียงและมีความหมาย คำจะประกอบด้วยคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้
ประโยค
ประโยค: เป็นการนำคำมาเรียงกันตามลักษณะโครงสร้างของภาษาที่กำหนดเป็นกฎเกณฑ์หรือระบบตามระบบทางไวยากรณ์ของแต่ละภาษา และทำให้ทราบหน้าที่ของคำ
ความหมาย :
ความหมายของคำมี 2 อย่าง คือ
(1) ความหมายตามตัวหรือความหมายนัยตรง เป็นความหมายตรงของคำนั้นๆ เป็นคำที่ถูกกำหนดและผู้ใช้ภาษามีความเข้าใจตรงกัน เช่น
“ กิน” หมายถึง นำอาหารเข้าปากเคี้ยวและกลืนลงไปในคอ
(2) ความหมายในประหวัดหรือความหมายเชิงอุปมา เป็นความหมายเพิ่มจากความหมายในตรง เช่น
กินใจหมายถึง รู้สึกแหนงใจ
กินแรงหมายถึง เอาเปรียบผู้อื่นในการทำงาน  





กลุ่มที่ 9 หลักการจัดประสบการณ์ <ภาษาธรรมชาติ>

            หลักการจัดการศึกษาปฐมวัยเป็นหลักสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ซึ่งผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาหลักสูตรให้เข้าใจ เพราะในการจัดประสบการณ์ให้เด็กอายุ 3 - 5 ปี จะต้องยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูควบคู่กับการให้การศึกษา โดยต้องคำนึงถึงความสนใจและความต้องการของเด็กทุกคนทั้งเด็กปกติ เด็กที่มีความสามารถพิเศษ และเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม สติปัญญา รวมทั้งการสื่อสารและการเรียนรู้หรือเด็กที่มีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล หรือด้อยโอกาส เพื่อให้เด็กพัฒนาทุกด้านทั้งด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาอย่างสมดุล โดยการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย บูรณาการผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เป็นประสบการณ์ตรงผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าเหมาะสมกับวัย และความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่เด็กกับผู้เลี้ยงดูหรือบุคลากรที่มีความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย เพื่อให้เด็กแต่ละคนได้มีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นตอนของพัฒนาการสูงสุดตามศักยภาพและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข เป็นคนดีและคนเก่งของสังคม และสอดคล้องกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อทางศาสนา สภาพทางเศรษฐกิจ สังคมโดยความร่วมมือจากบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น    
             
          การนำไปใช้

1.สามารถนำหลักของนักทฤษฎีต่างๆไปใช้กับเด็กได้ ในรูปแบบการเรียนการสอนในอนาคต
2.สามารถนำการจัดประสบการณ์ไปปรับใช้กับเด็กตาม อายุและช่วงวัยได้อย่างเหมาะสม