วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรีียนครั้งที่ 5

                                                                     บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี  12 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 12:50 น. เวลาเข้าสอน 13:00 น. เวลาเลิกเรียน 16:40 น.

อาจารย์ให้วาดรูป ความทรงจำครั้งวัยเด็กว่า ของสิ่งไหนที่เราจำได้แล้วชอบเป็นพิเศษแล้วออกไปหน้าชั้นเรียนแล้วอธิบายบอกเพื่อนว่าทำไมถึงชอบใครให้มาเป็นตน ส่วนของดิฉันคือ เสื้อกันหนาว เพราะเสื้อกันหนาวตัวนี้เป็นเสื้อโปรด ดิฉันชอบใส่มันประจำเฉพาะตอนมาเรียนทำให้ดิฉันมั่นใจและมีความสุขทุกวันถ้าได้ใส่เสื้อตัวนี้




องค์ประกอบของภาษา

เสียง , วรรณยุกต์ ,ความหมาย

1.Phonology
- คือระบบเสียงของภาษา
- เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมา เพื่อสื่อความหมาย
- หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา
  เช่น จ / า / น

2.Semantic
- คือความหมายของภาษาและคำศัพท์
- คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย
- ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
 เช่น คนกลาง
-คนที่อยู่ตรงกลาง
-กลางเสา
 เช่นสวัสดีค่ะ/ครับ
-ทักทาย

3.Syntax
- คือระบบไวยากรณ์
- การเรียงรูปประโยค

4.Pragmatic
- คือระบบนำไปใช้
- ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ

  ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Skinner
- สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
- ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง
  ทฤษฎีการเรียนรู้ของ JohnB. Watson
  ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสลิก
- การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็กเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้และผู้ใหญ่สามารถที่จะวางเงื่อนไขให้เด็ก   เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ทุกพฤติกรรม
นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า
- ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
- การเรียนรู้ภาษาเป็นผลมาจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม
- เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
- เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว
 เมื่อได้รับแรงเสริมจะทำให้เด็กเลียนแบบตัวแบบมากขึ้น
  แนวคิดกลุ่มพัฒนาการด้านสติปัญญา
    1.    Piaget
- เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
- ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
    2.   Vygotsky
- เด็กเรียนรู้จากการมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
- สังคม บุคคลรอบข้างมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
- เน้นบทบาทของผู้ใหญ่
- ผู้ใหญ่ควรช่วยชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก
แนวคิดของกลุ่มความพร้อมทางด้านร่างกาย
     3.  Arnoldgesell
- เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
- ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
- เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาอย่างรวดเร็ว
แนวคิดที่ว่าติดตัวมาตั้งแต่เกิด
        Noam chomsky
- ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
- การเรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
- มนุษย์เกิดขึ้นโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษามาตั้งแต่เกิดเรียกว่า LAD
แนวคิดของO.HobartMowrer
- คิดค้นทฤษฎีความพึงพอใจ
- ความสามารถในการฟังและเพลิดเพลินจากการได้ยินจากเสียงผู้อื่น
แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา
- เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
- นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน
Pichard and Rodger ( 1995 ) ได้แบ่งมุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์เป็น 3กลุ่ม
1.มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
- นำองค์ประกอบย่อยของภาษามาใช้ในการสื่อความหมาย
- เสียง ไวยากรณ์ การประกอบคำเป็นเสียงหรือประโยค
2.มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
- เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
- การจัดประสบการณ์เน้นสื่อความหมาย
- ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
3.มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
- เชื่อว่าเด็กจะเก่งภาษาได้จะต้องมีความสัมพันธ์ทางสังคม
- การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
- เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น