วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 2

                                                                     บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี 21 มิถุนายน 2556
ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 13:10 น. เวลาเข้าสอน 13:10 น.เวลาเลิกเรียน 16:40น.


สิ่งที่ได้จากการเรียน

 -รู้ว่าภาษาหมายถึง การสื่อความหมายภาษาเป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดและความรู้สึก
             ความสำคัญของภาษา
1) ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร
2) ภาษาเป็นเครื่องมือในกาารเรียนรู้
3) ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
4) ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ

            ทักษะทางภาษาประกอบด้วย
 การฟัง การพูด การเขียน การอ่าน

ทฤษฎีของ Piaget ทางสติปัญญา
    การที่เด็กมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการด้านทางภาษาและสติปัญญา
กระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย 2กระบวนการคือ
1. การดูดซึม(Assimilation)
    เป็นกระบวนการที่เด็กได้รู้และดูดซึ่มภาพต่างจากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง
2. การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่(Accommodation)
    เป็นกระบวนการที่เกิดควบคู่ไปกับการดูดซึมโดยการปรับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ
Piaget ได้แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญาซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษาดังนี้
1.) ขั้นพัฒนาการด้วยประสาทสัมผัส (แรกเกิด-2ปี)
-เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ
-เด็กเรียนรู้จากคำศัพท์จากสิ่งแวดล้อมบุคคลรอบตัว
-เด็กสนใจสิ่งที่อยู่รอบตัวก่อนที่จะเรียนรู้ภาษา
2.) ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล
2.1. อายุ 2-4ปี ( Preconceptual Period)
    เด็กเริ่มใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสารเล่นบทบาทสมมุติการเล่าเรื่องแสดงความรู้สึกผ่านสีหน้าสิ่งต่างๆรอบตัวภาษาของเด็กมีลักษณะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางจะใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์แสดงออก
2.2  อายุ 4-7ปี ( Intaitire Poriod) 
    ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ดีกับคนรอบข้างให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้บ้าง ยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลางรู้จักสร้างมโนทัศน์โดยอาศัยการจัดกลุ่มวัตถุสามารถเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งของ
3.)ขั้นการคิดและแบบรูปธรรม   
อายุ 7-11 ปีเด็กสามารถแก้ปัญหาได้โดยใช้เหตุผลที่เป็นรูปธรรม
4.)ขั้นการคิดแบบนามธรรม
    อายุ 11-15 ปี เด็กคิดด้วยเหตุผลอย่างเป็นระบบ ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาเข้าใจกฎเกณฑ์ของสังคมสร้างเป็นมโนทัศน์ให้สัมพันธ์กับนามธรรม
                 พัฒนาการภาษาของเด็ก
เด็กจะค่อยๆสร้างความรู้และความเข้าใจ เป็นลำดับขั้นครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับหากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือ ไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง ควรมองว่านั่นเป็นกระบวนการเรียนรู้

                 จิตวิทยาการเรียนรู้
1.ความพร้อม
- วัดความสามารถและประสบการณ์ของเด็ก
2.ความแตกต่างระหว่างบุคคล
- อิทธิพลทางพันธุกรรม
- อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม
3.การจำ
- การเห็นบ่อยๆ
- การทบทวนเป็นระยะ
- การจัดเป็นหมวดหมู่
- การใช้คำศัพท์                                                                                                        
4.การให้แรงเสริม
- แรงเสริมทางบวก
- แรงเสริมทางลบ 

นำไปใช้ประโยชน์

1.) นำไปพัฒนากับเด็ก
2.) นำสิ่งที่ได้ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนต่อไปในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น